หลักสูตรประถม 6-12 ปี

พัฒนาการเด็กวัย 6-12 ปี
Reasoning Mind  


      · เป็นวัยที่เริ่มมีเหตุผล ต้องการรู้ถึงเหตุและผลของความเป็นไปต่างๆ จึงมักถามคำถามว่า “ทำไม”
      · เป็นวัยที่เต็มไปด้วยความคิดจินตนาการ
      · มีพัฒนาการจากรูปธรรมไปสู่ความเข้าใจในนามธรรม
      · เริ่มเข้าใจเรื่องของความดีความชั่ว ศีลธรรม
      · ชอบรู้เรื่องราวของบุคคลต่างๆ มีฮีโร่ในใจ
      · ต้องการเข้าสังคม ชอบการเข้ากลุ่ม
      · เรียนรู้และยอมรับในกฎกติกา ความยุติธรรม
      · เป็นช่วงวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงด้านร่างกายอย่างค่อยเป็นค่อยไป
      · เป็นวัยที่ค่อนข้างสงบ มั่นคง
 
        หลักสูตรในระดับประถมนั้น โรงเรียนวิศานุสรณ์ใช้หลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการ โดยจัดกระบวนการเรียนรู้เป็นแบบบูรณาการ ผ่านเรื่องเล่าหลักๆ 5 เรื่อง เพื่อให้เด็กได้ใช้จินตนาการ และใช้จิตแห่งเหตุผล (Reasoning Mind) ในการค้นคว้าหาความรู้ต่อยอดขึ้นไป
 
         มอนเตสซอรี่เรียกวิชานี้ว่า Cosmic Education เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับจักรวาลทั้งหมด เพื่อให้เด็กได้เห็นการเชื่อมโยงกันของทุกสิ่ง ไม่เรียนวิชาใดวิชาหนึ่งแยกจากกัน เพราะในชีวิตจริงเราไม่สามารถแยกได้ว่าเราจะนำวิชาอะไรไปใช้ในการดำเนินชีวิต แต่เป็นการใช้ความรู้ทั้งหมดที่มีมาบูรณาการร่วมกัน อีกทั้งยังเป็นการฝึกทักษะการคิดอย่างเป็นระบบ ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบแล้วจะเห็นว่า หลักสูตรในระดับประถมของโรงเรียนวิศานุสรณ์นั้นมีขอบเขตที่กว้างและลึกซึ้ง รวมทั้งมีความเป็นสากลเช่นกัน
 
          เรื่องเล่าทั้ง 5 เรื่องเป็นการเล่าเพื่อให้เด็กเห็นภาพรวม (Big Picture) ของสิ่งที่เกิดขึ้น เป็นการสร้างแรงบันดาลใจ เกิดแรงจูงใจ อยากเรียนจากภายในตัวเด็กเอง การเล่านั้นจะนำสู่บทเรียน ซึ่งสามารถโยงได้กับวิชาต่างๆ ตามหลักสูตรกระทรวงฯได้ดังตารางข้างล่างนี้ โดยที่เนื้อหาในแต่ละวิชา จะลงรายละเอียดและมีความท้าทายมากขึ้นตามระดับชั้นเรียนที่สูงขึ้น


เรื่องที่ 1
กำเนิดจักรวาล

วิทยาศาสตร์ – ดาราศาสตร์ วิทยาศาสตร์กายภาพ
ประวัติศาสตร์ – ความหมายของเวลา
เรื่องที่ 2
กำเนิดสิ่งมีชีวิต
วิทยาศาสตร์ – วิวัฒนาการสิ่งมีชีวิต เรื่องราวของสัตว์และพืช
ภูมิศาสตร์ เชิงกายภาพ
ประวัติศาสตร์
เรื่องที่ 3
กำเนิดมนุษย์
วิทยาศาสตร์ – วิวัฒนาการ ชีววิทยา
สุขศึกษา
ภูมิศาสตร์ เชิงวัฒนธรรม
ประวัติศาสตร์
สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
การงานอาชีพและเทคโนโลยี
เรื่องที่ 4
เรื่องราวของการสื่อสาร
ภาษา
สังคมศึกษา
ประวัติศาสตร์
เรื่องที่ 5
เรื่องราวของตัวเลข
คณิตศาสตร์  เรขาคณิต

 
กระบวนการเรียนรู้ ที่จะฝึกทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Active Learning) จะเริ่มต้นจาก
     1. การที่ครูเป็นผู้สร้างความสนใจหรือความน่าสงสัย ท้าทายให้เด็กตั้งคำถามหลังการเล่าเรื่องหรือการนำเสนอบทเรียน
     2. หลังจากนั้นให้เด็กได้ค้นหาคำตอบด้วยตนเองจากแหล่งข้อมูลต่างๆ 
     3. ครูจะคอยติดตามอย่างใกล้ชิดถึงข้อมูลที่เด็กสืบค้นมาได้ และช่วยประสานข้อมูลที่ได้มานั้น 
     4. ในระดับชั้นที่สูงขึ้น ครูจะท้าทายให้เด็กๆ นำความรู้นั้นมาคิดต่อยอดว่าจะนำสิ่งที่รู้นั้นมาคิดสร้างสรรค์ให้เกิดประโยชน์อย่างไร
     5. เมื่อเป็นที่พอใจแล้ว เด็กจะรวบรวมนำสิ่งที่ได้เรียนรู้และคิดสร้างสรรค์มานั้น สรุปรวบยอดและนำเสนอด้วยรูปแบบที่หลากหลาย ตั้งแต่การพูดรายงาน การเขียนรายงาน การจัดนิทรรศการ การสาธิต รวมถึงการแสดงต่างๆ ก็นับเป็นส่วนหนึ่งของการนำเสนอเช่นกัน
 

Visitors: 28,750